การทบทวนวรรณกรรม การเขียน Literature Review
สำหรับ การทบทวนวรรณกรรม การเขียนLiterature review ที่ดี ไม่ควรเขียนหรือเรียบเรียงแบบ “ขนมชั้น” คือ การเอาเนื้อหาไม่ว่าจะเป็นแนวคิด หลักเกณฑ์ หลักการ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เอามาต่อๆ กัน โดยไม่มีการเชื่อมโยงเนื้อหาในแต่ละส่วน โดยทุกเนื้อหาที่เขียนจะต้องแสดงที่มาที่ไป มีการจั่วหัว การเกริ่นนำ และการสรุปเนื้อหาในแต่ละหัวข้อ และหากเป็นงานที่ต้องมีการวิเคราะห์องค์ประกอบ หรือ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน จะต้องทำตารางสังเคราะห์ตัวแปรเหล่านั้นทุกครั้ง
การเขียน Literature Review เป็นสิ่งที่สำคัญและทำให้งานทั้งฉบับดูมีคุณค่าหรือดูไม่น่าเชื่อถือ ซึ่งควรเขียนแบบมีการวางแผน ตามโครงสร้างที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า ไม่ควรเขียนหรือเรียบเรียงแบบเจอเนื้อหาอะไรก็เอามาใส่ไว้ในบทนี้
การเขียน Literature Review อาจสรุปเป็นประเด็นสำคัญ ได้ดังนี้
- ฉายภาพใหญ่
ฉายภาพใหญ่ในที่นี้ หมายถึง การทำให้ผู้อ่านสามารถทราบเป้าหมายขั้นสูงสุดของการทำวิจัยว่าต้องการมุ่งเน้นไปในทิศทางใด โดยการฉายภาพใหญ่ ต้องรู้จักกับภาพรวมการทำวิจัย วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ หรือดุษฎีนิพนธ์ ชิ้นนั้น มีประเด็นที่สำคัญและต้องการมุ่งเน้นในด้านใด เกี่ยวข้องกับเนื้อหา องค์ประกอบใดบ้าง และในประเด็นนั้นๆ มีแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยใดบ้างที่เคยศึกษามาก่อน
นักวิจัย และ ผู้ที่ทำวิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ การทำดุษฎีนิพนธ์ ต้องทราบประเด็นเหล่านี้ก่อนว่ากำลังจะเขียนเน้นเรื่อง หัวข้อ ประเด็นอะไร การเขียน literature review ที่ดี ต้องสามารถเล่าเรื่อง และอธิบายความเป็นมาได้อย่างมีใจความ สามารถเขียนสรุปได้หลายรูปแบบทั้ง สรุปตามหัวข้อหลัก หัวข้อรอง หัวข้อย่อย หรือตามลำดับเวลา เช่น ต้องการเขียนเรื่องของอุตสาหกรรมครีมบำรุงผิว ต้องฉายภาพให้เห็นถึงความสำคัญของอุตสาหกรรมครีมบำรุงผิว ความหมาย องค์ประกอบ มูลค่าเศรษฐกิจ ภาวะอุตสาหกรรม ผู้เล่นหรือผู้ประกอบการในอุตสาหกรรม แนวโน้มอุตสาหกรรม ภาวะการแข่งขัน ต่างๆ เป็นต้น
- การวิเคราะห์เปรียบเทียบ
การเขียน Literature Review ที่ดี ต้องสามารถเปรียบเทียบประเด็นต่างๆ ที่เรียบเรียงหรือนำเสนอ พร้อมทั้งวิเคราะห์แบบสรุปได้ว่า ประเด็นต่างๆ เหล่านั้นมีข้อสรุปหรือไม่ อย่างไร กล่าวคือ มีหลักฐานที่ขัดแย้งหรือสนับสนุนหรือไม่ มากน้อยเพียงใด เช่น จากกรณีการพูดถึงอุตสาหกรรมครีมบำรุงผิว ควรหยิบยกประเด็นเรื่องของ ภาวะอุตสาหกรรม และความสำคัญของอุตสาหกรรม ว่ามีความสำคัญ และเกี่ยวข้องกับการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศหรือไม่ อย่างไร ก่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ ต่อประชาชนในวงกว้างอย่างไร และสามารถตอบสนองความต้องการหรือผลประโยชน์ต่อผู้บริโภคอย่างไรบ้าง
- ควรมีประเด็นใดบ้างที่จะทำให้งานมีความสมบูรณ์มากที่สุด
เนื่องจาก การทำงานวิจัย การทำวิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ หรือสารนิพนธ์ ค้นคว้าอิสระ และปัญหาพิเศษ ทุกสาขา ทุกระดับการศึกษา ผู้เขียนจำเป็นต้องทราบว่างานที่ตนกำลังทำอยู่นั้น มีประเด็นสำคัญใดบ้าง และต้องค้นหาเอกสารวิชาการ หรือหลักฐานเพิ่มเติมมากน้อยแค่ไหน เพื่อที่จะทำให้งานมีความน่าเชื่อถือ หรือมีน้ำหนักมากที่สุด เช่น งานวิจัยที่กล่าวถึงไปแล้วคือเกี่ยวกับอุตสาหกรรมครีมบำรุงผิว ไม่จำเป็นที่งานเรียบเรียงเนื้อหา ทฤษฎี และ งานวิจัยจะเกี่ยวข้องอยู่แต่เฉพาะเรื่องของครีมบำรุงผิวเท่านั้น นักวิจัย สามารถเพิ่มเติม เนื้อหาต่างๆ ที่สามารถส่งเสริม และสนับสนุนง านวิจัยให้ดีมากยิ่งขึ้น เช่น ทฤษฎีส่วนประสมทางการตลาด การสร้างตราสินค้า ทฤษฎีจิตวิทยา หรือแม้แต่ทฤษฎีทางด้านเศรษฐศาสตร์ เพื่อนำมาวิเคราะห์ร่วมกันและนำไปสู่การสร้างตัวแปรในกรอบแนวคิดในงานวิจัยที่ดี ครบถ้วน และน่าเชื่อถือมากที่สุด
- ให้ความสำคัญกับงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง หรือ Related Research
งานวิจัยในโลก ไม่ว่าจะเป็นงานวิจัยในสาขาใด ย่อมแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่จะไม่เคยมีนักวิจัยหรือนักวิชาการที่ไม่เคยทำเรื่องนั้นๆ มาก่อน อย่างน้อยที่สุด จะต้องมีหัวเรื่องที่ใกล้เคียง กับงานวิจัยที่เรากำลังทำอยู่ หน้าที่ของนักวิจัยคือจะต้องพยายามสืบเสาะ ค้นหา งานวิจัยต่างๆ เหล่านั้น แล้วนำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ว่า งานวิจัยที่ใกล้เคียงและเคยทำมาแล้วนั้น มีประเด็นใดบ้างที่ยังสามารถทำเพิ่มเติมได้อีก หรือยังขาดข้อมูลและผลการศึกษาด้านใดที่สามารถนำไปทำวิจัยต่อยอดได้
การวางตำแหน่ง ของ Literature Review ที่เหมาะสม
Literature review หรือ การศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ที่เกี่ยวข้อง หรือบางสถาบันใช้คำว่า “การทบทวนวรรณกรรม” ซึ่งล้วนแล้วแต่มีความหมายใกล้เคียงกัน นักวิจัย ควรเขียนเนื้อหาเหล่านี้ไว้ในส่วนต้นๆ ของงานวิจัย วิทยานิพนธ์ หรือดุษฎีนิพนธ์ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการบอกให้ผู้อ่านทราบว่าผู้วิจัยกำลังทำงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องใด และงานวิจัยเรื่องนั้นๆ มีประเด็น มีเนื้อหา และที่สำคัญคือ ต้องบอกว่าเคยมีใครทำเรื่องหรือหัวข้อวิจัยเหล่านั้นไว้บ้าง
ซึ่งหากมีนักวิจัยท่านอื่นทำเรื่องเดียวกันนี้ไว้เป็นจำนวนมาก และมีการตีพิมพ์ที่ยังไม่เก่ามากนัก การทำงานวิจัยนั้นอีกอาจมีความไม่เหมาะสม เพราะเท่ากับเป็นการทำซ้ำ รวมทั้งยังสามารถระบุให้ได้ว่ามีประเด็นไหนที่ยังมีการศึกษาน้อยอยู่ หรือ ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจน รวมไปถึงยังคงมีการโต้เถียงขัดแย้งกันอยู่ เพราะยังไม่มีข้อสรุปที่มีเอกสารหลักฐานหรือผลการศึกษาที่ถูกต้องชัดเจนมากพอ ซึ่งทำให้นักวิจัยสามารถทำวิจัยเรื่องนั้นๆได้ เพื่อหาข้อสรุปและผลการศึกษาที่สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น
การเขียน Literature review ที่ดีนั้น ถือได้ว่ามีความจำเป็น มีความสำคัญ และมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการทำวิจัยทุกระดับ ทั้งวิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ และดุษฎีนิพนธ์ เป็นการชี้ให้เห็นถึงเห็นช่องว่างทางวิชาการ (Gaps in Literature) ที่นักวิจัยสามารถที่จะทำจัยเรื่องหรือหัวข้อนั้นๆได้ และการเลือกหัวข้อวิจัยที่ดี มีความทันสมัย น่าอ่าน น่าติดตาม จะยิ่งทำให้งานวิจัยมีคุณค่าทางวิชาการมากยิ่งขึ้น
ในช่วงท้ายของงานที่เป็นการอภิปรายผลการศึกษา พยายามที่จะสร้างความแตกต่างในผลงานของตัวเองด้วย เพื่อให้ผู้อื่นได้รู้สึกว่างานของเราสร้างความรู้ใหม่ ๆ ไม่ใช่ว่างานของเราไปคล้ายกับงานที่มีอยู่แล้ว หรือถ้าคล้ายก็ต้องหาเหตุผลมาอธิบายว่าผลการศึกษาของเราไม่เหมือนกับของผู้ที่ทำไว้อย่างไร สามารถอ้างอิงผลงานของท่านอื่นเพื่อใช้สนับสนุนคำอธิบายได้ หรืออาจจะใช้เป็นข้อเปรียบเทียบกับผลการศึกษาของเรา
ลักษณะของการเขียน Literature review ที่ดี
- คุณสมบัติหรือคุณลักษะข้อแรกของการเขียน Literature Review ที่ดีคือ จะต้องไม่เขียนงานในลักษณะของการลอกเลียนแบบ โดยนักวิจัยสามารถนำเนื้อหาที่เห็นว่าเกี่ยวข้องมาใช้ในงานวิจัยของตนได้ แต่จะต้องมีการอ่านและเรียบเรียงเนื้อหาในลักษณะของความเข้าใจของตัวเอง และมีการอ้างอิงที่มาเหล่านั้นอย่างถูกต้อง ชัดเจน เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาการคัดลอกงาน (Plagiarism) ซึ่งสามารถตรวจสอบได้หลายโปรแกรม เช่น Turn It In หรือ อักษราวิศุทธ์ เป็นต้น
- ต้องเป็นเนื้อหาที่มีความเกี่ยวข้องกับประเด็นที่ทำการศึกษา
- ต้องเรียบเรียงเนื้อหาที่ไม่เยิ่นเย้อ ได้ใจความ สื่อสารตรงประเด็น
- ต้องเขียนให้ผู้อ่านงานวิจัยทราบว่า นักวิจัยกำลังทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องอะไร มีประเด็นไหน ที่มุ่งเน้นเป็นพิเศษ เนื้อหาหลัก เนื้อหารองเป็นอย่างไร
- การเขียนต้องพยายามให้ผู้อ่าน เกิดความต้องการที่จะอยากรู้ อยากทำความเข้าใจ เนื้อหาเหล่านั้น ซึ่งต้องอาศัยทักษะการเขียน และ การทำวิจัยพอสมควร โดยสามารถเพิ่มความสามารถส่วนนี้ได้จากการอ่านงานวิจัยจำนวนมาก เพื่อทำให้เข้าใจกระบวนการเรียบเรียงที่ดี
การทบทวนวรรณกรรม การเขียนLiterature Review ที่ดี นักวิจัยจะต้องวางแผนการทำงาน การให้เวลากับงาน ไม่ควรทำงานในส่วนนี้แบบรีบเร่งจนเกินไป จำทำให้การเขียน และ การเรียบเรียงดูไม่ราบรื่น หรือ ขาดเนื้อหาสำคัญบางประการไป
จะต้องมีการกำหนดโครงสร้าง ของการเขียนงาน ที่ชัดเจน ถูกต้อง และเหมาะสม ซึ่งสามารถดูไดัจากงานวิจัย ที่ทำเรื่องใกล้เคียงกัน (Relevant Research) จากงานวิจัยที่มีการตีพิมพ์ ที่ได้รับการยอมรับ ในวงการวิชาการระดับสูง จะทำให้การเขียนเนื้อหาส่วนนี้ มีคุณค่า และ ความน่าเชื่อถือมากขึ้น
Thank you for