Tips 5 ข้อ การจ้างทำวิจัย
เทคนิคการทำวิจัย และ การจ้างทำวิจัย เกณฑ์การเลือกทีมรับทำวิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ สารนิพนธ์ และงานวิชาการต่างๆ เพื่อให้การทำวิจัยเป็นไปอย่างราบรื่น มีประสิทธิภาพ สำเร็จได้ภายในเวลาที่กำหนด รับทำวิจัย รับทำวิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ สารนิพนธ์ และงานวิชาการต่างๆ
เนื้อหาในบทความนี้ เป็นข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ การจ้างทำวิจัย ให้ประสบความสำเร็จ เสียเงินโดยไม่คุ้มกับเวลาที่รอคอย และการได้งานวิจัยที่เหมือนการตัดแปะ copy and Paste มีประเด็นที่ควรให้ความสำคัญ 5 ข้อ
- รับทำวิจัย ทำไมต้องจ้าง? จากข้อมูลสถิติการรับทำงานวิจัย พบว่า เกือบทั้งหมดของลูกค้าที่เข้ามาปรึกษาการทำวิจัย ต้องทำวิจัยเพื่อให้จบ หรือเพื่อเลื่อนวิทยฐานะ ซึ่งในกรณีของนักวิจัยองค์กร ทั้งองค์กรธุรกิจและองค์กรของรัฐ ส่วนใหญ่ไม่ได้มีหน้าที่ในการทำงานวิจัยให้องค์กรที่สังกัดอย่างเดียว ต้องทำหน้าที่่อื่นจำนวนมากควบคู่ไปด้วย
โดยงานวิจัยเป็นหนึ่งในส่วนประกอบที่ต้องทำ ทำให้มีข้อจำกัดในการทำวิจัยทั้งในเรื่องของงบประมาณ เรื่องความรู้ความเข้าใจและทักษะในการทำวิจัย เครื่องมือในการทำวิจัย เช่น โปรแกรมวิเคราะห์ต่างๆ ทำให้การทำวิจัยเป็นเรืองยากเย็นแสนเข็ญ การทำงานวิจัยเป็นไปอย่างเชื่องช้า ทำให้เกิดความท้อแท้เบื่อหน่าย ในส่วนของนักศึกษาทำวิทยานิพนธ์ และ ดุษฎีนิพนธ์ เองก็เช่นกัน
เพราะการเรียนในระดับมหาบัณฑิตขึ้นไปในประเทศไทยเป็นการเรียนแบบไม่เต็มเวลา หรือไม่ใช่การเรียนภาคปกติ (Regular) ทำให้มีข้อจำกัดในเรื่องเวลาเหมือนกับการทำวิจัยองค์กร ต้องทำงานแข่งกับเวลา และมีภาระหน้าที่ความรับผิดชอบทั้งงานประจำและชีวิตส่วนตัว อีกทั้งการเรียนภาคพิเศษ มีโอกาสพบเจออาจารย์ค่อนข้างน้อย ตารางเวลาการทำงานของอาจารย์ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของงานสอน ไม่ใช่เรื่องการแนะนำ บางคณะบางมหาวิทยาลัย อาจารย์ต้องรับผิดชอบการสอนจำนวนมากและมีเด็กที่ปรึกษาในการทำวิทยานิพนธ์เกินกำลังที่อาจารย์จะดูได้หมดหรือให้การช่วยเหลือแบบเจาะลึกเป็นรายๆไป สิ่งเหล่านี้ ทำให้เป็นปัญหาใหญ่มากสำหรับการทำวิทยานิพนธ์ และดุษฎีนิพนธ์
- รับทำวิจัย ต้องรู้อะไรบ้าง? การจ้างที่ปรึกษาทำวิจัย หรือทีมรับทำวิจัย เกือบทั้งหมดไม่ได้มาแบบที่เจ้าของงานวิจัยไม่รู้อะไรเลย ไม่มีแม้แต่หัวข้อวิจัย โดยมากที่เข้ามาปรึกษาการทำวิจัยได้ลองศึกษาค้นคว้างานวิจัย วิทยานิพนธ์และดุษฎีนิพนธ์ของตัวเองมาสักระยะและมีความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยนั้นๆระดับหนึ่ง เช่น หากเป็นวิจัยด้านการเงิน
ผู้วิจัยจะได้เรียนเนื้อหาเกี่ยวกับภาคการเงินมาค่อนข้างมาก ทั้งจากปริญญาตรีและในปริญญาโทและเอก และเมื่อเกิดติดปัญหาอุปสรรคบางประการแล้วคิดจะจ้างทีมรับทำวิจัย ผู้ทำวิจัยต้องคิดไว้ก่อนยกหูคุยกับทีมที่สนใจว่า ผู้วิจัยนั่นเองคือคนที่รู้จักเนื้อหาในงานวิจัยนี้ดีที่สุด อย่าคาดหวัง และอย่าคิดว่าการใช้คำพูดสละสลวย การตกแต่งเว็บไซต์ให้น่าดึงดูดคือการการันตีคุณภาพของงานวิจัย
เพราะสิ่งเหล่านี้ใครก็ทำได้ แต่องค์ความรู้พื้นฐานสำคัญกว่า ผู้จ้างต้องถามรายละเอียดทุกอย่างในความรู้ที่ต้องใช้ในงานวิจัย เช่น งานวิจัยการเงิน ต้องรู้ว่าการเรียนหลักสูตรด้านการเงินมีอะไรบ้าง ยิงคำถามที่เป็นคำหลักที่สามารถวัดได้ว่าทีมนั้นมีความรู้จริงหรือไม่ ทั้งในด้านองค์ความรู้และทักษะการใช้โปรแกรมวิเคราะห์ทางสถิติ อย่าคิดว่าจะต้องเกรงใจกัน เพราะเงินก่อนจ่ายอยู่ที่เรา เมื่อจ่ายให้ทีมผิดนอกจากเจ็บใจเสียเงิน แล้วจะต้องเสียเวลาไปโดยเรียกคืนกลับมาไม่ได้
- รับทำวิจัย เหมือนแทงหวย? กรณีนี้เกิดขึ้นมาตลอด สิบกว่าปีที่รับทำงานวิจัย เกือบครึ่งนึงของงานที่รับมาคือการแก้งานวิจัยที่ทำไม่เสร็จหรือไม่มีความคืบหน้าจากทีมที่เคยจ้างมาแล้ว เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นตามเหตุผลที่เขียนในข้อ2, ทั้งนี้ เพราะผู้จ้างทำวิจัยไม่ได้ตรวจสอบความรู้ และทักษะต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในงานให้ดีเสียก่อน ไม่มีทีมวิจัยไหนที่ทำวิจัยได้ทุกสาขาโดยคนไม่กี่คน
การทำวิจัย หากทำเป็นอาชีพจริงๆ จะต้องมีพันธมิตร มีสรรพกำลังทั้งความรู้ การเจรจา ความพากเพียร ที่จะสามารถมีทีมบุคลากรที่สามารถทำงานได้หลากหลาย การทำวิจัยไม่ใช่เป็นเรื่องแค่สถิติและคณิตศาสตร์ “math necessary but not sufficient” บางคนสามารถวิเคราะห์โปรแกรมสถิติได้ทุกโปรแกรม แต่พื้นความรู้ในงานไม่มี กล่าวคือ สามารถวิเคราะห์ผล จากตัวแปรที่กำหนดในกรอบแนวคิดได้ แต่การเรียบเรียง การเชื่อมโยง การวิเคราะห์และการอภิปรายผล เป็นคนละทิศละทาง เพราะไม่ได้ศึกษาศาสตร์ในสาขานั้นมา
จริงอยู่ว่าการทำงานวิจัยบางศาสตร์บางสาขาไม่มีความยุ่งยากซับซ้อน เช่น งานด้านการตลาด งานวิจัยด้านการจัดการ หรือศึกษาศาสตร์ ที่สามารถสืบค้นเนื้อหาประกอบจากแหล่งต่างๆได้ แต่ในกระบวนการทำวิจัยหากผู้ทำวิจัยไม่ได้ทำงานนั้นไม่ได้อยู่ในวงการนั้น จะไม่ได้อัพเดทแนวคิด ทฤษฎีและข้อมูลที่สำคัญ อาจใช้งานวิจัยเก่าๆ มาอ้างอิง ทำให้งานไม่ผ่าน เพราะมีมาตรฐานต่ำและทำให้ถูกมองได้ว่าไม่ได้สนใจที่จะทำงานวิจัยชิ้นนั้นจริงๆ
- รับทำวิจัย ต้องเก่งโปรแกรมวิเคราะห์สถิติ? แม้ว่าพื้นฐานองค์ความรู้ในงานวิจัยนั้นๆมีความสำคัญที่สุด แต่องค์ประกอบที่มีความสำคัญมากเช่นกันคือ โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยจะพอทราบว่าโปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลสำเร็จรูปมีหลายโปรแกรม ทั้ง SPSS EVIEW STATA SAS MATHLAB MINITAB LISREL AMOS และ Lindep เป็นต้น ซึ่งโปรแกรมเหล่านี้มีความเหมาะสม มีข้อดี ข้อเสีย ข้อเด่น และข้อเด่นแตกต่างกันไป
บางโปรแกรมสามารถวิเคราะห์ได้อย่างกว้างขวาง เช่น SPSS แต่การวิเคราะห์ข้อมูลอนุกรมเวลามัจกะใช้ EVIEW หรือ STATA และ LINDEP สำหรับงานวิจัยในระดับปริญญาเอกหรือปริญญาโทบางหลักสูตรที่นิยมวิเคราะห์แบบจำลองสมการเชิงโครงสร้างมักจะใช้ AMOS LISREL หรือ mPlus เป็นต้น ดังนั้นผู้จ้างทำวิจัยจะต้องไม่ละเลยข้อเท็จจริงส่วนนี้ด้วย
- รับทำวิจัย เสี่ยงไหม? หากผู้วิจัยได้ดำเนินการและตรวจสอบองค์ประกอบจากข้อ 1-4 จะลดความเสี่ยงลงไปได้มาก ซึ่งจำกัดความเสี่ยงที่ว่าอยู่ในมิติด้านการไม่ได้รับงานวิจัย ได้รับงานวิจัยที่ไม่มีคุณภาพ งานวิจัยมีปัยหาแล้วไม่แก้ไข รวมไปถึงการได้รับงานวิจัยช้า และไม่ตรงเวลา ผู้จ้างทำวิจัยจะต้องวางแผนการทำงานร่วมกันกับทีมที่รับทำวิจัย ว่าในขั้นตอนนี้จะต้องใช้เวลาไปกับอะไรบ้าง
เช่น การสืบค้นข้อมูล การสืบค้นกฎหมายต่างประเทศ Civil Law หรือ Common Law จะค้นได้ที่ไหน ซึ่งคนที่เคยทำงานวิจัยกฎหมายจะพอทราบว่าจะได้จากแหล่งใดบ้าง เช่น West Law และฐานข้อมูลงานวิจัยต่างๆของมหาวิทยาลัย และศาลต่างๆ การเก็บแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูล ต่างๆเหล่านี้จะต้องคุยและตกลงรายละเอียดกันอย่างเป็นทางการและกำหนด Timeline อย่างตรงไปตรงมาและสามารถทำได้ตามนั้นจริง
อาจกล่าวได้ว่าเรื่องเวลาคือประเด็นที่ควรให้ความสำคัญมากที่สุดเรื่องหนึ่ง ผู้จ้างจะต้องกำหนดความคืบหน้าของงานแต่ละครั้ง และงานทั้งหมดจะต้องเสร็จวันไหน ไม่ควรรอให้เสร็จงานทั้งหมดโดยไม่ได้รับความคืบหน้าเลย เพราะหากงานมีปัญหาและใกล้ถึงกำหนดส่งจะแก้ไขยากหรือแก้ไขไม่ได้เลย เงินอาจได้คืนแต่เวลาเรียกคืนไม่ได้เลย