หัวข้อวิจัยในชั้นเรียน
แนวคิด พื้นฐาน นิยาม ความหมาย ตัวอย่าง งานวิจัยชั้นเรียน หัวข้อวิจัยในชั้นเรียน
การทำวิจัยในชั้นเรียน การกำหนด หัวข้อวิจัยในชั้นเรียน นับว่าเป็นงานวิจัย ที่สำคัญต่อการจัดการเรียนการสอน เป็นอย่างยิ่ง เป็นเครื่องมือที่ครูอาจารย์สามารถใช้ เพื่อศึกษาปัญหา และแนวทางการแก้ไขปัญหา ที่เกิดขึ้นจากการเรียนการสอน ทำให้เกิดการพัฒนาวิธีการเทคนิคการสอนที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และ ยังสามารถเผยแพร่ ความรู้เทคนิค วิธีการแก้ปัญหา ที่ผู้วิจัยได้คิดค้นและทดลองแล้วนั้น ให้กับครูอาจารย์อื่นๆ ได้ใช้เป็นแนวทางแก้ไข หรือ พัฒนาการจัดการเรียนการสอนของตนได้
การวิจัยในชั้นเรียน เป็นการทำวิจัยไปพร้อมๆ กับการจัดการเรียนการสอน รูปแบบการทำวิจัยไม่เน้น รูปแบบการเขียนรายงานวิจัย ที่เป็นทางการมากนัก จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับครูอาจารย์จะใช้ฝึกการทำวิจัย แบบเต็มรูปแบบ ได้เช่นกัน คณะผู้จัดทำจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า แนวทาง เทคนิควิธีการทำวิจัยในชั้นเรียนที่คณะกรรมการได้รวบรวมจากผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการด้านทำวิจัย และรวบรวมจากแหล่งข้อมูลอื่นๆ ที่มีประโยชน์นี้จะช่วยทำให้ผู้ที่สนใจอยากจะ ทำวิจัยในชั้นเรียน ใช้ศึกษาเป็นแนวทาง การทำวิจัยในชั้นเรียน ต่อไป

การตั้งชื่อเรื่อง หรือ การเลือกหัวข้อวิจัยในชั้นเรียน ที่ดี ควรประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้
1. การเลือกหัวข้อวิจัยชั้นเรียน ที่ดี ควรกำหนดตัวแปรที่จะศึกษา หรือตัวแปร ตามที่ผู้ทำวิจัยชั้นเรียนให้ความสนใจในการวิจัย เช่น ความพึงพอใจ บทบาท ปัญหา การรับรู้ เป็นต้น
2. ประชากรหรือกลุ่มตัวอย่างที่จะศึกษา จะต้องเกี่ยวกับ วิจัยชั้นเรียน เช่น นักศึกษาสถาบันราชภัฏลำปาง สมาชิกสภาเทศบาล กรรมการกองทุนหมู่บ้าน นักเรียน
3. วิธีในการวิจัยชั้นเรียน สามารถเลือกวิธีได้เช่นเดียวกับการทำวิจัยสังคมทั่วไป เช่น การสำรวจ การเปรียบเทียบ การหาความสัมพันธ์ การศึกษา เป็นต้น
4. การเลือกขอบเขตด้านพื้นที่ที่ศึกษา ควรเป็น โรงเรียน สถานที่ศึกษา วิทยาลัย มหาวิทยาลัย เช่น โรงเรียนประจำจังหวัดแห่งหนึ่ง มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัด เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ในการกำหนดชื่อเรื่องโครงการวิจัยไม่จำเป็นต้องมีครบทั้ง 4 ประเด็น อาจจะขาดรายการใดรายการหนึ่งก็ได้ แต่รายการที่ขาดไม่ได้ คือ การระบุตัวแปร
ตัวอย่าง งานวิจัยชั้นเรียน และหัวข้อวิทยานิพนธ์ในชั้นเรียน
1.การแก้ปัญหานักเรียนเขียนสะกดคำไม่ถูกต้อง
https://drive.google.com/drive/folders/1z_fsn3LCnjAyBFghqZAqui3PISeaMpQl
2.การพัฒนาการเขียนคำที่มีวรรณยุกต์โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป
https://drive.google.com/drive/folders/1z_fsn3LCnjAyBFghqZAqui3PISeaMpQl
3.การทำสังคมมิติเพื่อปรับปรุงพฤติกรรมนักเรียน
https://drive.google.com/drive/folders/1z_fsn3LCnjAyBFghqZAqui3PISeaMpQl
4.การประเมินโครงการชมรมนักวิจัยรุ่นจิ๋ว
https://drive.google.com/drive/folders/1z_fsn3LCnjAyBFghqZAqui3PISeaMpQl
5. การพัฒนาความสามารถทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กเรียนอ่อนในระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6 โดยใช้เอกสารประกอบการเรียนที่สร้างขึ้น
https://drive.google.com/file/d/17-D0lFi0ww7-0qZkRQm_ryrMCkxyla3m/view?usp=sharing
6.การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางด้านการฟัง
https://drive.google.com/file/d/1o6Pt9jM9kny7nb132-sFTTZhwJii6J86/view?usp=sharing
7. การศึกษาพฤติกรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาศึกษาปีที่ 1/5 โรงเรียนกระเทียมวิทยาในเรื่องการไม่ส่งงาน / การบ้าน
https://drive.google.com/file/d/1x3RJUnYlfy5oJOFGr-J-NswD3l6XJLbO/view?usp=sharing
8. การศึกษาพฤติกรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/6 โรงเรียนอัสสัมชัญระยองในเรื่องการไม่ส่งงาน / การบ้าน
https://drive.google.com/file/d/1U2z5T5L8LKKDDdAjg7lDSNtzUjuUpzm9/view?usp=sharing
9. การใช้แบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้น ป.2/6
https://drive.google.com/file/d/1piB-jbq_iuz3KyPiCiOitQAc6nybAI-q/view?usp=sharing
10. ผลการพัฒนาทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยกลวิธี DR-TA / การศึกษาค้นคว้าอิสระ
การทำวิจัยในชั้นเรียน มีความแตกต่างจากการทำวิจัยทั่วไปหรือไม่ อย่างไร?
การวิจัยในชั้นเรียนต้องอาศัยองค์ประกอบและทักษะของการทำวิจัยทั่วไป กล่าวคือ เป็นการศึกษาหาความรู้ที่เป็นระบบโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งการวิจัยประเภทใดก็ตามจะมีขั้นตอนสำคัญๆ ไม่แตกต่างกันคือ
- การกำหนดปัญหาการวิจัย
- การแสวงหาสู่ทางแก้ปัญหา
- การใช้วิธีการต่างๆ แก้ปัญหา
- การบันทึกและการปฏิบัติการแก้ปัญหา
- การสรุปและนำเสนอผลการแก้ปัญหา
อย่างไรก็ตาม การวิจัยในชั้นเรียน จะมีกระบวนการหรือขั้นตอนการดำเนินงาน โดยมีเป้าหมายเพื่อการแก้ปัญหาและพัฒนาการเรียนการสอนให้เกิดประโยชน์สูงสุด มิใช่การมุ่งสร้างองค์ความรู้เพื่อพัฒนาหรือขยายองค์ความรู้ในศาสตร์ของตนเอง ซึ่งอันที่จริงแล้วหากครูมีความรู้ความสามารถและความตั้งใจทุ่มเท จะสามารถทำได้ถึงขั้นนี้ซึ่งจะเป็นประโยชน์สูงสุดต่อการจัดการศึกษา
กระบวนการทำวิจัยชั้นเรียน
กระบวนการวิจัยในชั้นเรียนที่จะนำเสนอนี้หากท่านลองฝึกคิด และทำตามไปทีละขั้นเชื่อมั่นว่าท่านจะได้งานวิจัย
1. เลือกปัญหาการวิจัย ปัญหาที่นำมาใช้ในการวิจัยพิจารณาได้จาก
· ปัญหาที่เกิดกับตัวนักเรียน อาจจะเป็นปัญหาพฤติกรรม หรือ ปัญหาการเรียนรู้ ซึ่งครูสามารถค้นหาปัญหาเหล่านี้จากบันทึกท้ายแผนการสอน บันทึกผลการเรียน พอร์ตโฟลิโอ การสังเกต การพูดคุยกับเพื่อนครู ฯลฯ และ ข้อขัดข้อง ระหว่างการจัดการเรียน การสอน อาจจะเป็นปัญหาเกี่ยวกับสื่อการเรียนการสอน การจัดกิจกรรม กระบวนการสอนของครู หรือการวัดประเมินผล เป็นต้น รวมถึง ความต้องการที่ไม่ได้รับการตอบสนอง จากความต้องการของครูที่จะพัฒนาคุณภาพการสอนให้ดียิ่งขึ้น
ในขั้นนี้ท่านอาจจะพบปัญหาหลายปัญหาซึ่งในการเลือกปัญหามาทำวิจัยนั้นควรเป็นปัญหาที่มีความสำคัญส่งผลต่อการเรียนรู้และความสำเร็จของนักเรียน เป็นปัญหาที่มีความต่อเนื่องคือถ้าไม่ได้รับการแก้ไขจะส่งผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียนในเรื่องอื่นๆ ตามมา เป็นปัญหาที่วิธีการเดิมๆ ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ และที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือครูสามารถดำเนินการวิจัยได้ด้วยตนเอง
2. การวิเคราะห์สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในชั้นเรียน
สำหรับปัญหาที่ผู้ทำวิจัยในชั้นเรียนควรเลือกนำมาศึกษาวิจัย ต้องศึกษาสภาพให้ละเอียดลงไปอีกว่ามีสภาพปัจจุบันของการเรียนการสอนในชั้นเรียเป็นอย่างไร มีปัญหาเกิดขึ้นหรือไม่ อย่างไรบ้าง และ ปัญหาเกิดขึ้นกับเด็กทั้งหมดหรือเกิดขึ้นเฉพาะเด็กบางกลุ่มหรือบางกลุ่ม
3. การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา
สำหรับในส่วนของการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหานั้น ผู้วิจัยจะต้องทำการพิจารณาให้รอบด้านในทุกมิติ เพื่อนำไปสู่การพิจารณาหรือทราบสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา เช่น สาเหตุอาจมาจากตัวผู้สอนเอง หรือเกิดจากนักเรียน รวมไปถึงปัจจัยแวดล้อมอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เพื่อน ผู้ปกครอง สภาพครอบครัว เป็นต้น ซึ่งวิธีการที่จะค้นหาสาเหตุ คือ ใช้การสังเกต พูดคุยกับนักเรียน ดูจากผลงานของนักเรียน ใช้การทดสอบ
การสอบถามพูดคุยกับเพื่อนครู ผู้ปกครอง ฯลฯ จากตัวอย่างในข้อ 2 เมื่อวิเคราะห์แล้ว พบว่าสาเหตุอาจมาจากนักเรียนอ่านภาษาไทยเชิงวิเคราะห์ไม่คล่อง นักเรียนได้รับการฝึกฝนไม่เพียงพอหรือการสอนของครูทำให้นักเรียนไม่สนใจการเรียนรู้ เป็นต้น
4. การหาแนวทางแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้
เมื่อผ่านขั้นตอนกระบวนการที่แล้ว ครูจะสามารถทราบว่าการทำวิจัยมีเป้าหมายอะไร โดยหากเป็นการวิจัยเพื่อมุ่งพัฒนาการเรียนรู้ ถ้าวิจัยเพื่อมุ่งแก้ปัญหาของนักเรียนบางคน หรือบางกลุ่มจัดเป็นการวิจัยแก้ปัญหา เช่นปัญหาที่เกิดขึ้นคือผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนตกต่ำลง การทำวิจัยอาจมุ่งเน้นเพื่อเป็นการพัฒนาการเรียนรู้ของชั้นเรียน เนื่องจากมีผลสัมฤทธิ์เฉลี่ยต่ำ
วิธีการที่ใช้ในแต่ละเป้าหมายอาจจะแตกต่างกัน ในการหาแนวทาง หรือ วิธีการแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้ ผู้สอนสามารถ ใช้การสังเกต แล้วเชื่อมโยง กับ ปัญหาและสาเหตุของปัญหา เช่น สังเกตว่าเวลาที่นักเรียนไปเรียนนอกห้องเรียนแล้วมีความสุข ครูอาจจะใช้วิธีเรียนคณิตศาสตร์จากแหล่งเรียนรู้แก้ปัญหานักเรียนไม่สนใจเรียนรู้ เป็นต้น หรืออาจจะหาแนวทางจากการศึกษางานวิจัยของผู้อื่นแล้วนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับนักเรียน
5. การกำหนดชื่อเรื่องวิจัย คำถามวิจัย และวัตถุประสงค์การวิจัย
เพื่อเป็นการกำหนดแนวทางที่ชัดเจนและถูกต้องต่อการดำเนินการวิจัย จึงต้องกำหนดชื่อเรื่องวิจัย คำถามการวิจัย และวัตถุประสงค์การวิจัย โดยมีหลักการ ดังนี้
5.1 ชื่อเรื่องวิจัย ผู้วิจัยควรระบุให้ชัดถึงเรื่องที่จะแก้ปัญหาหรือพัฒนา กลุ่มเป้าหมาย และ วิธีที่จะนำมาใช้แก้ปัญหาหรือพัฒนา เช่น การแก้ไขปัญหาพื้นฐาน ด้านการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ของนักเรียนประถมศึกษาชั้นปีที่1/1 เป็นต้น
5.2 การตั้งหรือสร้างคำถามวิจัย กำหนดคำถามนำทางเพื่อให้การดำเนินงานสามารถบรรลุตามเป้าหมายที่ต้องการคำถามวิจัยกำหนดได้มากกว่า 1 ข้อ เช่น
- การเสริมพื้นฐานความรู้ทางด้านภาษาอังกฤษและทักษะการคำนวณอย่างเป็นระบบทำได้อย่างไร
- นักเรียนมีปฏิกิริยาต่อการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมทักษะด้านการคำนวณอย่างเป็นระบบนอกเวลาเรียนอย่างไร
- การเสริมพื้นฐานความรู้อย่างเป็นระบบสามารถ ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ และ ความสนใจในการเรียนรู้ ของนักเรียนมากน้อยเพียงใด และอย่างไร
5.3 วัตถุประสงค์การวิจัย ผู้วิจัยจะต้องสามารถวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของการทำวิจัย โดยกำหนดให้สอดคล้องกับชื่อเรื่องวิจัยว่าต้องการทำวิจัยเพื่ออะไร เช่น เพื่อพัฒนากระบวนการเสริมพื้นฐานความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์และฟิสิกส์อย่างเป็นระบบ และ เพื่อแก้ปัญหานักเรียน 20 คน ที่ขาดความรู้พื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์และทักษะการคำนวณโดยใช้กระบวนการเสริมพื้นฐานความรู้อย่างเป็นระบบ เป็นต้น
6. การวางแผนการดำเนินการเพื่อนำไปสู่แก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้
สำหรับในขั้นตอนนี้ เป็นขั้นตอนของการวางแผน ซึ่งผู้ทำวิจัยในชั้นเรียน จะต้องเขียนให้สามารถมองเห็นภาพของการดำเนินงาน อย่างชัดเจน ซึ่งอาจจะระบุประเด็นต่อไปนี้
เครื่องสำหรับการวิจัย จะต้องระบุ ทั้งเครื่องมือที่ใช้ใน การแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้ เช่น แผนการสอน แผนการแก้ปัญหาโดยการสอน ซ่อมเสริม และ สื่อการเรียนการสอน เป็นต้น และ เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล เช่น แบบสังเกตพฤติกรรม แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ เป็นต้น ซึ่งการทำวิจัยในชั้นเรียน ซึ่งเป็นการทำวิจัยเชิงปริมาณจะต้องคำนวณประสิทธิภาพของเครื่องมือ
· การเก็บรวบรวมข้อมูล ให้ระบุว่าจะใช้เครื่องมือใด เก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเวลาใด และเก็บอย่างไร
7. ลงมือปฏิบัติตามแผน เก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล
จากขั้นที่ 1-6 ซึ่งถือได้ว่าเป็นโครงสร้างหรือนโครงร่างของการวิจัย จากนั้นผู้วิจัยจึงดำเนินการตามแผน และเก็บรวบรวมข้อมูลตามที่กำหนดไว้ ในส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลจะต้องมีสถิติต่างๆ เพื่อเข้ามาคำนวณและทดสอบสมมติฐานการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ซึ่งการวิจัยในชั้นเรียนส่วนใหญ่ใช้การหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับค่า t-test ใช้กับการทำวิจัยกับกลุ่มตัวอย่างแล้วอ้างอิงไปถึงประชากร ดังนั้นการวิจัยในชั้นเรียนซึ่งเป็นการกระทำกับประชากรอยู่แล้วจึงไม่ควรนำ t-test มาใช้
8. การสรุปและอภิปรายผลการวิจัย
การสรุปผลการวิจัยจะต้องสรุปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ และนำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบ อาจจะในรูปตาราง แผนภูมิ แผนภาพ หรือเขียนบรรยาย ส่วนการอภิปรายผลเป็นการกล่าวว่าผลจากการวิจัยเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้หรือไม่ เพราะเหตุใด สอดคล้องกับสิ่งที่ผู้อื่นทำไว้หรือไม่ หรือผู้วิจัยมีแนวคิดอะไรเพิ่มเติมจากการทำวิจัยในครั้งนี้บ้าง
9. การเขียนรายงานวิจัยในชั้นเรียน
การเขียนรายงานวิจัยในชั้นเรียนไม่มีรูปแบบที่เป็นทางการเหมือนการวิจัยทั่วไป ดังนั้นอาจจะเขียนบรรยายตามหัวข้อที่กล่าวมาข้างต้น หรือจะใช้รูปแบบที่เป็นทางการตามความคุ้นเคยก็ได้เช่นกัน
จะเห็นได้ว่าการวิจัยในชั้นเรียนเป็นกระบวนการที่ดำเนินงานไปพร้อมๆ กับการจัดการเรียนการสอน มีขั้นตอนสำคัญๆ เหมือนกับการวิจัยทั่วไป แต่ไม่มีรูปแบบที่เป็นทางการ และการวิเคราะห์ข้อมูลมาใช้เพียงสถิติที่ง่ายๆ ไม่ซับซ้อน ทราบอย่างนี้แล้วคุณครูคงไม่ต้องวิตกกังวลกับการทำวิจัยในชั้นเรียนอีกต่อไป
อ้างอิง
Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย
