เทคนิคการเขียนแผนธุรกิจ
การเขียนแผนธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเขียนแผนธุรกิจเพื่อนำไปสู่แผนการปฏิบัติงานในแต่ละด้านให้มีประสิทธิภาพ สามารถนำเสนอองค์กร และสถาบันการเงินเพื่อขอสินเชื่อ หรือสำหรับนำเสนอแผนสำหรับผู้ถือหุ้นในบริษัท เทคนิคการเขียนแผนธุรกิจ มีดังนี้
1.แนวคิดหลักของธุรกิจ แนวคิดหลักของธุรกิจ คือ ภาพใหญ่หรือภาพหลักของธุรกิจเรา สำหรับใช้ในการนำเสนอ เพิ้อสื่อสารและสร้างความเข้าใจในโครงสร้างและภาพรวมทั้งหมดของธุรกิจให้กับผู้บริโภค ถือได้ว่าเป็นส่วนที่มีความสำคัญมากในการจัดทำแผนธุรกิจ เพราะข้อมูลของแนวคดหลักธุรกิจนี้สามารถใช้ในการดึงดูดให้ผู้บริการแหล่งเงินทุนสนใจในธุรกิจของเรา โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีความยาวอยู่ที่ 1-2 หน้ากระดาษ A4 ประกอบด้วย
- ภาพรวมธุรกิจ คือ ส่วนที่แสดงถึงแนวคิด ความเป็นมา และธุรกิจหรือบริหารหลัก ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจ
- โอกาสและการแข่งขัน ในที่นี้ คือ การพยากรณ์หรือคาดการณ์เกี่ยวกับโอกาสในการเจริญเติบโตของธุรกิจ ที่แวดล้อมด้วยคู่แข่งขัน ซึ่งเราจะต้องวิเคราะห์ถึงโอกาสในการอยู่รอดและการเติบโตของธุรกิจ
- เป้าหมาย คือ การกำหนดเป้าหมายของธุรกิจเรา เพื่อให้สามารถกำหนดแนวทางเบื้องต้นที่ถูกต้องและเหมาะสมสำหรับการพัฒนาธุรกิจได้อย่างชัดเจน ทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว
- กลยุทธ์ คือ การบอกถึงแนวทางรวมถึงวิธีการ แนวทางปฏิบัติสำหรับการดำเนินธุรกิจของเราให้อยู่รอดได้ในระยะยาว
- แผนการลงทุน เป็นการแสดงเกี่ยวกับต้นทุน ค่าใช้จ่าย เพื่อให้สามารถพยากรณ์ได้สำหรับความเสี่ยง (Risk) หรือความไม่แน่นอนสำหรับการลงทุน และยังทำให้เราทราบถึงการสร้างธุรกิจของเราจะต้องมีการจัดสรรเงินทุนและสรรพกำลังอย่างไรบ้าง จึงจะเกิดความคุ้มค่ามากที่สุด
- ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ ในส่วนนี้ จะแสดงถึงการกำหนดผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ โดยการประเมินความเสี่ยงของการพัฒนาธุรกิจ ได้แก่ ยอดขาย จำนวนสาขา เป็นต้น

2. ความเป็นมาของธุรกิจ เป็นการอธิบายหรือพรรณนาถึงคุณลักษณะของธุรกิจ รวมถึงปัจจัยต่างๆ ที่จะมีการพัฒนาขึ้นในอนาคต ในส่วนนี้ควรประกอบด้วย ข้อมูลความเป็นมาของธุรกิจ ข้อมูลด้านผู้ถือหุ้นหรือหุ้นส่วน ตลอดจนข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะและคุณภาพของสินค้าและบริการ รวมทั้งที่อยู่และปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อการเติบโตของธุรกิจ
- คุณลักษณะของธุรกิจ สินค้า และ บริการ
- แนวทางสำหรับการพัฒนาธุรกิจ
- ข้อมุลที่สำคัญเกี่ยวกับผู้ถือหุ้นและที่อยู่

3. วิเคราะห์ความเสี่ยงและโอกาส (Brand Analysis) เป็นส่วนที่เป็นการนำเสนอแผนธุรกิจโดยรวมของธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับสินค้าและบริการของธุรกิจ เพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน ตลอดจนความไม่นอนและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งจะทำให้เราสามารถพิจารณาปัจจัยทั้งภายในและภายนอกองค์กร ตลอดจนปัจจัยหรือตัวแปรที่อาจส่งผลต่อการเติบโตของธุรกิจ ซึ่งโดยทั่วไปจะวิเคราะห์ในรูปแบบของ SWOT Analysis
- จุดแข็ง จุดอ่อน ของธุรกิจ
- พิจารณาโอกาสของธุรกิจ ทั้งโอกาสที่มีอยู่แต่ยังไม่สามารถเข้าถึงได้อย่างมีประสิทธิภาพ และโอกาสใหม่ๆของธุรกิจ
- การเตรียมแผนสำหรับการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
4. แผนการตลาด (Market Plan) แผนการตลาดจะแสดงถึงกลยุทธ์หลักหรือกลยุทธ์ที่สำคัญในการทำตลาดของธุรกิจ รวมไปถึง กลยุทธ์การสื่อสารการตลาด และวิธีการเข้าถึงกลุ่มลูกค้า โดยทั่วไปจะเกี่ยวข้องกับ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (4P/7P Marketing Mix Factors) และเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เราสามารถมองเห็นถึงแหล่งเงินทุน และโอกาสในการทำธุรกิจ ซึ่งควรแสดงถึงความเป็นไปได้ในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้อย่างถูกต้องและชัดเจน เพื่อทำให้นักลงทุนหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเกิดความมั่นใจและอยากร่วมลงทุนมากยิ่งขึ้น
- การวิเคราะห์ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด(4P/7P)
- การกำหนดและเลือกกลยุทธ์สำหรับการเข้าถึงกลุ่มลูกค้า เช่น Digital Marketing เป็นต้น
5. แผนการดำเนินงาน (Operation Plan) เป็นการแสดงถึงข้อมูลในการดำเนินงานหรือการสร้างธุรกิจ โดยแต่ละธุรกิจจะต้องกำหนดโครงสร้าง หรือรูปแบบ ซึ่งเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจที่มีลักษณะเฉพาะแตกต่างกันไปในแต่ละธุรกิจ เช่น ธุรกิจรับทำและตรวจสอบบัญชี จะต้องมีการแสดงถึงโปรแกรมทางการบัญชี ต่างๆ ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน หรือธุรกิจซื้อมาขายไป จะมีการแสดงถึงขั้นตอนการนำเข้าวัตถุดิบ การจัดเก็บสินค้าคงคลัง และการจำหน่ายสินค้าออกไป เป็นต้น โดยในขั้นตอนของแผนการดำเนินงาน จะแสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้
- แผนการผลิต
- แผนควบคุมคุณภาพ
- แผนการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์
- แผนการควบคุมและจัดการเกี่ยวกับวัตถุดิบ
- แผนการจัดส่ง
- แผนการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง
- แผนการบริหารช่วยเหลือลูกค้า
6. แผนด้านการเงิน (Financial Plan) เป็นส่วนที่มีความสำคัญอย่างมากสำหรับธุรกิจทุกประเภท ทั้งธุรกิจขนาดเล็กและขนาดใหญ่ เนื่องจากแผนการเงินเป็นส่วนที่มีความจำเป็นสำหรับการดำเนินงานทั่วทั้งองค์กร และยังมีส่วนสำคัญในการป้องกันความเสี่ยงและการแก้ไขความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น โดยหากองค์กรธุรกิจขาดการวางแผน หรือวางแผนทางการเงินได้ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ เมื่อเกิดความไม่แน่นอน โดยเฉพาะทางด้านยอดขาย และต้นทุนการผลิต จะทำให้ธุรกิจประสบกับปัญหาการขาดทุนจนถึงขั้นปิดกิจการได้ ดังนั้นผู้บริหารจะต้องพิจารณาและให้ความสำคัญของแผนทางด้านการเงินเป็นอย่างมทาก ซึ่งมีประเด็นที่ควรพิจารณาและให้ความสำคัญดังนี้
- แผนการลงทุน
- แผนการประมาณรายได้ ยอดขาย กำไร
- สถานะทางการเงินของบริษัท ทั้งกำไรขาดทุน กระแสเงินสดเข้าและออก เป็นต้น
- การวิเคราะห์ผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุน และการพยากรณ์ยอดขาย
- ระยะเวลาคืนทุน และ จุดคุ้มทุน
7. แผนรับมือภาวะฉุกเฉิน นอกเหนือจากการวางแผนตั้งแต่ขั้นตอนที่ 1 ถึงขั้นตอนที่ 6 ซึ่งเกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจโดยตรงแล้ว ในขั้นตอนนี้การกำหนดแผนรับมือในภาวะฉุกเฉินนี้ เป็นสิ่งที่มีความสำคัญในกรณีที่เกิดความเสี่ยงและความไม่แน่นอนในอนาคต ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้เสมอ เช่น ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจ ภาวะโรคระบาด (เช่น โควิด-19) รวมถึงภัยธรรมชาติ เช่น อุทกภัย หรือน้ำท่วมใหญ่ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว ซึ่งการกำหนดแผนรับมือสภาวะฉุกเฉิน จะทำให้ธุรกิจยังสามารถดำเนินการหรืออยู่รอดได้ภายใต้ภาวะวิกฤติที่อาจเกิดขึ้นได้
อ้างอิง:
TAG : รับเขียนแผนธุรกิจ การเขียนแผนการตลาด การเขียนแผนธุรกิจ รับทำวิจัยธุรกิจ
