วิจัยการเงิน วิทยานิพนธ์การเงิน วิจัยMBAการเงิน ดุษฎีนิพนธ์สาขาการเงิน
แนวคิดพื้นฐาน ความรู้ หลักการ วิจัยการเงิน
วิจัยการเงิน คือ งานวิจัยที่ใช้กระบวนการทำวิจัย มีการพิสูจน์ข้อเท็จจริงที่เป็นระบบระเบียบ เป็นงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้แล้วได้ประโยชน์จริง เช่น หากเป็นนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ย่อมอยากอ่าน งานวิจัยทางการเงิน ที่อ่านแล้วทำให้ทราบแนวทางหรือกลยุทธ์การลงทุน ความเสี่ยงต่ำผลตอบแทนสูง หรือผลตอบแทนเท่ากันแต่ความเสี่ยงต่ำกว่า หรือหากเป็นผู้บริหารองค์กรธุรกิจ อาจอยากอ่าน งานวิจัยทางการเงิน ที่ทำให้ทราบว่าควรบริหารองค์กรในด้านการเงิน หรือบริหารการเงินอย่างไร การถือครองเงินสด การบริหารสินทรัพย์ การเพิ่มความสามารถในการทำกำไร เป็นต้น

วิจัยการเงิน เริ่มต้นอย่างไร
การทำวิจัยการเงิน วิทยานิพนธ์การเงิน รวมไปถึง ดุษฎีนิพนธ์การเงิน ควรเริ่มจาก การกำหนดชื่อเรื่อง ของงานวิจัยการเงิน บริหารธุรกิจ สาขาการเงิน วิทยาศาสตร์การเงิน วิศวกรรมการเงิน มีความยากง่ายต่างกันในเรื่องของเทคนิคการประยุกต์ใช้แบบจำลองทางเศรษฐมิติ แต่พื้นฐานความรู้ทางการเงิน ไม่แตกต่างกันมากนัก เพราะเนื้อหาที่เรียนมีโครงสร้างคล้ายกัน แต่สาขาวิทยาศาสตร์การเงิน และวิศวกรรมการเงิน จะมีรายวิชาที่เพิ่มเติม ความรู้เกี่ยวกับเศรษฐมิติ หรือ Econometrics ตั้งแต่ระดับพื้นฐาน จนถึง ระดับกลาง
นอกจากนี้ บางคณะ บางโปรแกรม บางหลักสูตร สามารถใช้แบบจำลองทางเศรษฐมิติที่ซับซ้อนมากๆ เช่น ตระกูล GARCH ทั้งหมด ไปจนถึง การวิเคราะห์หรือทดสอบความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาว Cointegration และการทดสอบ การปรับตัวระยะสั้น หรือ Error Correction Model ตัวย่อที่นักวิจัยมักจะพบเห็นได้บ่อยคือ ECM ซึ่งบางงานจะทำการทดสอบ ต่อเนื่องไปจนถึง Casually Test เพื่อดูความเป็นเหตุเป็นผลระหว่างกันของตัวแปรที่ทำการศึกษา
การทำวิจัยการเงิน ทำอะไรดี
โดยทั่วไปผู้ที่เรียนสาขาการเงิน ไม่ว่าจะเป็น คณะบริหารธุรกิจ คณะเศรษฐศาสตร์ ที่เลือก เรียนสาขาการเงิน เศรษฐศาสตร์การเงิน วิทยาศาสตร์การเงิน รวมไปถึงสาขา วิศวกรรมการเงิน จะต้องมีความรู้ความเข้าใจทั้งการเงินธุรกิจ การเงินองค์กร และความรู้เกี่ยวกับตลาดทุนและตลาดเงิน เป็นอย่างดีและต้องเข้าใจอย่างถ่องแท้ จึงจะทำให้สามารถกำหนดหัวข้อวิจัย ที่ถูกต้องและเหมาะสมได้
ผู้วิจัยต้องสำรวจตัวเองว่าอยากทำหรือสนใจหัวข้อเกี่ยวกับเรื่องอะไร หรืออาจจะทำงานอยู่ในเนื้อหาที่มีความถนัด เช่น ตราสารหนี้ หุ้นกู้ หลักทรัพย์ สินเชื่อ ฯลฯ การทำวิจัยการเงินหากเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับตราสารทางการเงิน มักจะศึกษาเกี่ยวกับความเสี่ยงและอัตราผลตอบแทน และ ความผันผวน (Volatility) เช่น การศึกษาความเสี่ยงและอัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์กลุ่มท่องเที่ยวและสันทนาการ
- หากเป็นกองทุนมักจะศึกษาในแนวทางของการศึกษาผลการดำเนินงานของกองทุน ซึ่งกองทุนมีหลายประเภท แต่ละประเภทจะมีรูปแบบและลักษณะการดำเนินงานแตกต่างกัน ผู้วิจัยต้องทราบรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ทางการเงินเหล่านี้อย่างดีจึงจะสามารถทำวิจัยการเงินในหัวข้อเหล่านี้ได้ โดยทั่วไปการทำวิจัยการเงินเกี่ยวกับการวัดผลการดำเนินงานของกองทุนจะใช้ดัชนี 3 ตัวที่นิยมใช้กันแพร่หลายคือ
- ชาร์ปเรโช(Sharpe Ratio) เป็นดัชนีชี้วัดผลตอบแทนของกองทุนรวมที่มากกว่า หรือเหนือกว่าอัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์ที่ปราศจากความเสี่ยง ที่มีการปรับด้วยค่าความเสี่ยงของกองทุนรวม คือส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ซึ่งเป็นการพิจารณา “ผลตอบแทน” ต่อ 1 หน่วยความเสี่ยงที่เท่ากัน หรือ กล่าวคือ กองทุนไหนที่ Sharpe Ratio สูงกว่า อีกกองทุนหนึ่ง แสดงว่า ผู้จัดการกองทุนสามารถสร้างผลตอบแทนได้สูงกว่า ณ 1 หน่วย ความเสี่ยงที่เท่ากัน อย่างไรก็ตามดัชนีนี้ควรใช้เปรียบเทียบกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนที่เหมือนกัน
- เทรเนอร์เรโช (Treynor Ratio) เป็นดัชนีวัดผลตอบแทนของกองทุนรวมที่มากกว่าหรือเหนือกว่าอัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์ที่ปราศจากความเสี่ยง เช่น พันธบัตรรัฐบาล ซึ่งมีการปรับด้วยค่าความเสี่ยงที่เป็นระบบ (System Risk) ของกองทุนรวม (ค่าเบต้า(B)เป็นการวัดความผันผวนของผลตอบแทนอีกแบบหนึ่งที่อ้างอิงกับตลาด) แนวคิดของSharpe Ratio ไม่ต่างจาก Sharpe Ratio เพียงแต่ Treynor Ratio มีการอ้างอิงเกี่ยวกับความเสี่ยงที่เป็นระบบมาใช้อ้างอิง
ไอเดีย การเลือกหัวข้อวิจัยการเงิน
หัวข้อวิจัยการเงินที่น่าสนใจ ย่อมหนีไม่พ้น หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับ “โควิด-19” ซึ่งสามารถนำข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ผลกระทบหรือการส่งผ่านความผันผวน อันเกิดจากผลกระทบของ “โควิด-19” ได้ เนื่องจากมีการแพร่ระบาดมาเป็นระยะเวลา 3 ปี ซึ่งสามารถพิจารณาข้อมูลที่เป็นปัจจัยหลัก เปรียบเทียบก่อนเกิดการแพร่ระบาด หรือในช่วงระบาดไปแล้วได้ แต่การนำปัจจัยด้าน “สงคราม ยูเครน-รัสเซีย” อาจจะยังต้องรอให้สถานการณ์มีความแน่นอนมากกว่านี้ ซึ่งอาจใช้ระยะเวลาเกิน 6 เดือน ขึ้นไป
- An Empirical Analysis of Nordic Publicly Listed Firms in the COVID-19 Stock Market
- The role of risk in investment behaviour and the manifestation of behavioural biases by individual investors.
- การวิเคราะห์ ESG-investmentsในช่วงของการเกิดการแพร่ระบาดโควิด19
ชื่อเรื่องวิจัย หรือ หัวข้อวิจัย ทางด้านการเงินเหล่านี้ ถือได้ว่า เป็นหัวข้อที่น่าสนใจอย่างยิ่ง นอกจากจะเป็นการวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดจากสถานการณ์โควิด-19 แล้ว ยังมีการประยุกต์ใช้แบบจำลองทางเศรษฐมิติ ที่น่าสนใจ สามารถประยุกต์ใช้กับบริบทในประเทศไทย หรือแม้แต่การเปลี่ยนการกำหนดตัวแปร เช่น แบ่งการวิเคราะห์ช่วงเวลา เป็นช่วงก่อนเกิดและหลังเกิด โดยให้เส้นแบ่งเป็นตัวแปรหุ่น หรือ Dummy Variable แทนที่การวิเคราะห์แบบช่วงเวลาเดียว
สำหรับหัวข้อวิจัยการเงิน เศรษฐศาสตร์การเงิน ที่น่าสนใจอื่นๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับตลาดการเงิน ตลาดทุน ตลาดตราสารหนี้ ตลาดหลักทรัพย์ ในต่างประเทศ มีตัวอย่างต่อไปนี้
หัวข้อวิจัยทางการเงิน ที่น่าสนใจในต่างประเทศ
How to Make Venture Capital Accessible for Black Founders: An Entrepreneur’s Dilemma (Kevin D. Johnson)
More Proof That Money Can Buy Happiness (or a Life with Less Stress) (Michael Blanding)
Why JPMorgan Chase Is Committed to Improving Racial Equity in Banking (Joseph L. Bower)
Who Pays For Wildfire and Hurricane Damage? Everyone.(Kristen Senz)
Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย
