การวิจัยตลาด (Market Research)

การวิจัยตลาด (Market Research)

การวิจัยตลาด หรือ Market Research เป็นหนึ่งในวิจัยด้านสังคมศาสตร์  โดยอาศัยกระบวนการสำรวจ (Survey) การเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลจากผู้บริโภค เพื่อให้นักการตลาดสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ สำหรับการสร้างโอกาสและกลยุทธ์ทางการตลาด ทำเป็น Marketing ต่างๆ เช่นการสร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง, ปรับปรุงการบริการของ customer service, ออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ เป็นต้น

การทำวิจัยตลาด หรือ market research นี้ ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการตลาด รวมถึงการทำโฆษณา ที่ปรากฎแทบจะทุกที่ ทั้งในมือถือ โทรทัศน์ ป้ายตามท้องถนน คุณก็จะต้องเจอการโฆษณาอยู่เสมอๆ  กล่าวได้ว่า การทำวิจัยการตลาดจึงเป็นสิ่งสำคัญและมีความจำเป็น เพื่อช่วยให้การทำธุรกิจเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ เพราะการทำวิจัยตลาดสามารถตอบสนองต่อโจทย์ทางธุรกิจที่สำคัญคือ

  1. ช่วยในการแก้ไขปัญหาหรือโจทย์ทางธุรกิจ เช่น วิธีการเพิ่มยอดขาย การตรวจสอบผลกระทบที่เกิดจากเหตุการณ์ต่างๆ (Disaster Check) การตรวจสอบภาพลักษณ์ของสินค้า
  2. ช่วยในการสนับสนุนการตัดสินใจและลดความเสี่ยง เพื่อให้ตรงต่อความต้องการของตลาด เช่น การนำเสนอสินค้าตัวใหม่ การทำโลโก้หรือบรรจุภัณฑ์ของสินค้า หรือแม้กระทั้งการทำโฆษณาหรือภาพยนตร์
  3. ช่วยให้เข้าใจความต้องการของลูกค้า โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจการให้บริการจะต้องเข้าใจความต้องการของลูกค้าเพื่อตอบสนองต่อความต้องการได้อย่างเหนือความคาดหมาย (Beyond Expectation) และ สร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้า Customer Experience
การวิจัยตลาด

หัวข้อที่แบรนด์สินค้านิยมนำมาวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางการตลาด ตัวอย่างเช่น ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกและตัดสินใจซื้อของลูกค้า เหตุผลอะไรบ้างที่ทำให้ลูกค้าซื้อและไม่ซื้อสินค้าและบริการแต่ละอย่าง ลูกค้าซื้อสินค้าและบริการที่ไหนและซื้ออย่างไร ขนาดของการตลาด เทรนด์ธุรกิจในช่วงขณะนั้น คู่แข่งของเราเป็นใคร เป็นต้น

ทั้งนี้  หากธุรกิจและผู้ประกอบการสามารถทำความเข้าใจความต้องการของลูกค้าได้ การเก็บข้อมูลวิจัยตลาดได้ถูกต้อง จะสามารถทำนายว่าตลาดจะไปในทิศทางไหน แบบไหนจะไปได้ดีในอนาคต เป็นโอกาสที่แบรนด์ของคุณจะพัฒนา และปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบริการได้ดีขึ้นอีกด้วย

ประเภทการของ การวิจัยตลาด

1. การวิจัยผู้บริโภค (Consumer Research)

การวิจัยผู้บริโภคเป็นการทำการวิจัยลักษณะของผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มผู้ซื้อผลิตภัณฑ์ในแบบเฉพาะเจาะจง เน้นการศึกษาเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ ศาสนา รายได้ และรวมทั้งความเชื่อ ทัศนคติ พฤติกรรมการซื้อและการใช้สินค้าชองผู้บริโภคด้วย

2. การวิจัยเหตุจูงใจ (Motivational Research)

การวิจัยเหตุจูงใจ คือ การกระตุ้นให้บุคคลปฏิบัติ แสดงทัศนคติของผู้บริโภค พฤติกรรมด้วยความเต็มใจ สร้างพลังผลักดันภายในใจของเขาที่จะเร่งเร้าหรือกระตุ้นให้บุคคล แสดงพฤติกรรมบางอย่าง ซึ่งอาจเป็นการปรับปรุง สร้างสรรค์ หรือทําสิ่งที่แตกต่างไปจากเดิมเพื่อให้ได้การประเมินค่าแรงจูงใจ

3. การวิจัยความพึงพอใจลูกค้า (Customer Satisfaction Research)

การวิจัยความพึงพอใจลูกค้า สามารถทำได้โดยใช้แบบสอบถาม หรือการสัมภาษณ์ ในการรวบรวมข้อมูล และความต้องการของลูกค้า ทำความเข้าใจว่าลูกค้าพึงพอใจสินค้าและบริการของคุณ เพื่อนำข้อมูลไปพัฒนาผลิตภัณฑ์และนำเสนอการบริการต่างๆ รวมถึงการตั้งราคาที่เหมาะสม ซึ่งก่อให้เกิดความพึงพอใจและความจงรักภักดี เชื่อมั่นต่อสินค้าในอนาคต

4. การวิเคราะห์ตลาด (Market Analysis)

การวิเคราะห์ตลาด เป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจมีข้อมูลที่จำเป็นและสามารถนำไปประกอบการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจได้ ช่วยให้เข้าใจแนวโน้มการตลาดในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ, คู่แข่ง, แนวโน้มของตลาดอย่างต่อเนื่อง

รวมถึงพฤติกรรมการใช้จ่ายของลูกค้า เพื่อดูว่าหากคุณจะปล่อยสินค้าหรือบริการออกสู่ตลาด จะสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้หรือไม่

5. การวิจัยแบรนด์ (Branding Research)

การวิจัยแบรนด์ สามารถทำได้หลากหลายรูปแบบทั้งการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม การทำแบบสอบถาม และการสำรวจ การวิจัยแบรนด์ยังเกี่ยวกับความภักดีต่อแบรนด์ การเข้าถึงลูกค้า เพื่อนำมาปรับปรุงภาพลักษณ์ให้กับแบรนด์ของคุณ

ประเภทการของการวิจัยตลาด

1. การวิจัยผู้บริโภค (Consumer Research)

การวิจัยผู้บริโภคเป็นการทำการวิจัยลักษณะของผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มผู้ซื้อผลิตภัณฑ์ในแบบเฉพาะเจาะจง เน้นการศึกษาเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ ศาสนา รายได้ และรวมทั้งความเชื่อ ทัศนคติ พฤติกรรมการซื้อและการใช้สินค้าชองผู้บริโภคด้วย

2. การวิจัยเหตุจูงใจ (Motivational Research)

การวิจัยเหตุจูงใจ คือ การกระตุ้นให้บุคคลปฏิบัติ แสดงทัศนคติของผู้บริโภค พฤติกรรมด้วยความเต็มใจ สร้างพลังผลักดันภายในใจของเขาที่จะเร่งเร้าหรือกระตุ้นให้บุคคล แสดงพฤติกรรมบางอย่าง ซึ่งอาจเป็นการปรับปรุง สร้างสรรค์ หรือทําสิ่งที่แตกต่างไปจากเดิมเพื่อให้ได้การประเมินค่าแรงจูงใจ

3. การวิจัยความพึงพอใจลูกค้า (Customer Satisfaction Research)

การวิจัยความพึงพอใจลูกค้า สามารถทำได้โดยใช้แบบสอบถาม หรือการสัมภาษณ์ ในการรวบรวมข้อมูล และความต้องการของลูกค้า ทำความเข้าใจว่าลูกค้าพึงพอใจสินค้าและบริการของคุณ เพื่อนำข้อมูลไปพัฒนาผลิตภัณฑ์และนำเสนอการบริการต่างๆ รวมถึงการตั้งราคาที่เหมาะสม ซึ่งก่อให้เกิดความพึงพอใจและความจงรักภักดี เชื่อมั่นต่อสินค้าในอนาคต

4. การวิเคราะห์ตลาด (Market Analysis)

การวิเคราะห์ตลาด เป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจมีข้อมูลที่จำเป็นและสามารถนำไปประกอบการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจได้ ช่วยให้เข้าใจแนวโน้มการตลาดในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ, คู่แข่ง, แนวโน้มของตลาดอย่างต่อเนื่อง

รวมถึงพฤติกรรมการใช้จ่ายของลูกค้า เพื่อดูว่าหากคุณจะปล่อยสินค้าหรือบริการออกสู่ตลาด จะสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้หรือไม่

5. การวิจัยแบรนด์ (Branding Research)

การวิจัยแบรนด์ สามารถทำได้หลากหลายรูปแบบทั้งการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม การทำแบบสอบถาม และการสำรวจ การวิจัยแบรนด์ยังเกี่ยวกับความภักดีต่อแบรนด์ การเข้าถึงลูกค้า เพื่อนำมาปรับปรุงภาพลักษณ์ให้กับแบรนด์ของคุณ

ประเภทของวิธีการเก็บข้อมูลการวิจัยตลาด

การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research)

การวิจัยเชิงปริมาณ Quantitative Research จะเหมาะกับงานวิจัยที่ต้องการวัดค่าของตัวแปรออกมาเป็นตัวเลข สามารถนำการวิจัยขั้นทุติยภูมิมาปรับใช้ทำต่อได้

ข้อดีคือสามารถควบคุมตัวแปรที่ศึกษาได้ เป็นการวิเคราะห์ Analysis ตัวแปรว่ามีความสัมพันธ์กันหรือไม่ ตัวแปรใดเป็นตัวแปรอิสระ ตัวแปรใดเป็นตัวแปรตาม และต้องวางแผน จัดเตรียมเครื่องมือรวบรวมข้อมูลให้ออกมามีคุณภาพ

ข้อเสียของการวิจัยเชิงปริมาณ สามารถเกิดความคลาดเคลื่อนตามมาได้ หรืออาจไม่ออกมาตามสมมติฐาน (Hypothesis)ที่คุณตั้งเป้าไว้ จึงต้องควบคุมตัวแปรให้ดีและเหมาะสม

การวิจัยทั้งเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)

การวิจัยเชิงคุณภาพ Qualitative Research เป็นการวิจัยจากสังคมตามสภาพแวดล้อมตามความจริง เช่น การสนทนา การสัมภาษณ์ ความรู้สึกนึกคิด ทัศนคติ ตลอดจนค่านิยมหรืออุดมการณ์ของบุคคล

ข้อดีของการวิจัยในรูปแบบนี้จะเน้นการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายโดยตรง ส่วนข้อเสีย คือ อาจจะต้องใช้เวลานานในการศึกษาติดตามระยะยาว เพราะไม่เน้นการใช้สถิติตัวเลขในการวิเคราะห์ข้อมูล แต่จะใช้การสังเกต และการสัมภาษณ์เป็นวิธีหลัก

Focus Group และ in-depth Interview

การสังเกตุการณ์ (Observation)

การสังเกตการณ์ เป็นการวิจัยขั้นปฐมภูมิโดยการใช้ประสาทสัมผัส เช่น ตา หู ในการติดตามเฝ้าดูอย่างใกล้ชิด เหมาะกับการศึกษาเหตุการณ์ พฤติกรรม อาจเป็นในรูปแบบของบุคคล สิ่งแวดล้อม หรือวัตถุต่างๆ

การเก็บข้อมูล หรือ Data collection เป็นกระบวนการรวบรวมและการวัดข้อมูลเกี่ยวกับตัวแปรที่เราสนใจให้เป็นระบบที่ทำให้ได้ข้อมูลนำไปใช้ต่อได้ เพื่อให้เข้าใจลักษณะธรรมชาติและความเกี่ยวข้อง

ข้อดี คือได้เข้าใจถึงพฤติกรรมที่เกี่ยวข้อง แต่ข้อเสีย คือใช้เวลานานการสังเกตุการณ์ในระยะเวลานานกว่าจะเข้าใจถึงปัญหา

กล่าวโดยสรุป การวิจัยตลาด คือ กระบวณการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมาย เพื่อวิเคราะห์และทำความเข้าใจว่า อะไรคือกุญแจสู่ความสำเร็จทางธุรกิจที่ทำ ท่ามกลางคู่แข่งที่มีอยู่มากมายในวงการธุรกิจเดียวกัน

ข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้า ได้แก่ ลูกค้าซื้อสินค้าและบริการที่ไหนและซื้ออย่างไร ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกและตัดสินใจซื้อของลูกค้า เหตุผลอะไรบ้างที่ทำให้ลูกค้าซื้อและไม่ซื้อสินค้าและบริการแต่ละอย่าง

การวิจัยตลาดยังช่วยให้ผู้ประกอบธุรกิจเรียนรู้ความเคลื่อนไหวในแวดวงธุรกิจของตัวเองด้วย เช่น เทรนด์ธุรกิจ ขนาดของตลาด คู่แข่งของเราเป็นใคร ฯลฯ

ข้อมูลเหล่านี้ช่วยให้เราสรุปตลาดที่ธุรกิจของเราอยู่ และรู้ว่าคุณค่าของธุรกิจของเรามีต่อตลาดมากน้อยแค่ไหน และจะเพิ่มเติมให้ดีขึ้นที่ตรงจุดไหนด้วย

อ้างอิง :

เทคนิคการทำวิจัยตลาด / รูปแบบของการทำวิจัยตลาด/